มาสร้าง Portfolio กันเถอะ



มาสร้าง Portfolio กันเถอะ
Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงานของน้องๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้กรรมการสอบสัมภาษณ์ได้รู้จักน้องๆในเบื้องต้น นอกจากนั้นยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ทำให้กรรมการสอบสัมภาษณ์ใช้พิจารณาว่าเรามีคุณสมบัติมากพอในการรับเราเข้าศึกษารึเปล่าค่ะ วันนี้เลยจะมาแนะนำ กับ 10 สิ่งที่ควรมีใน Portfolio รีบไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ส่วนประกอบ พอร์ต มีอะไรบ้าง
1. หน้าปก
          ถือเป็นส่วนแรกและส่วนสำคัญอันดับต้นๆ ของ Portfolio เลยนะคะ ซึ่งโจทย์ที่สำคัญของการทำหน้าปกคือ 'ทำยังไงให้อาจารย์อยากหยิบขึ้นมาเปิดอ่าน' พูดง่ายแต่ทำยากค่ะ งานนี้น้องๆ หลายคน เลยขอใช้วิชา Photoshop , Illustrator เพื่อสร้างความสนใจให้กับหน้าปกของตัวเองกัน นอกจากความน่าสนแล้วอย่าลืมนะคะ ว่าหน้าปกที่ดีควรที่จะมีรูปของเรา ชื่อ นามสกุล โรงเรียน ด้วยค่ะ เพราะนอกจากอาจารย์จะเห็นภาพแล้ว จะได้เห็นข้อมูลพื้นฐานของเราด้วย
2. ประวัติส่วนตัว
          เป็นส่วนแรกที่กรรมการจะได้รู้จักเราเลยนะคะ เพราะนอกจากจะถือว่าอยู่บริเวณด้านหน้าของ Portfolio รองจากหน้าปกและปกในแล้ว ประวัติส่วนตัวยังเป็นส่วนที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเรา โดยที่เราไม่ต้องแนะนำหรือเล่าเป็นเวลานานค่ะ เช่น ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น วันเดือนปีเกิด อายุ สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา จำนวนพี่น้อง จบ/กำลังศึกษาอยู่ที่ ระดับชั้น สายการเรียน บิดา มารดา เป็นต้นค่ะ
3. ประวัติการศึกษา
          อย่างที่รู้นะคะว่าเรากำลังมาสมัครเข้าศึกษาต่อ ดังนั้น อาจารย์ก็อยากจะทราบแน่นอนค่ะ ว่าเราเรียนจบจากที่ไหนมา ได้เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่ บางคนสงสัยว่าต้องบอกตั้งแต่ชั้นไหน พี่อีฟแนะนำเลยค่ะ ว่าถ้ายังจำได้ตั้งแต่อนุบาลเลยก็ยิ่งดี แต่ถ้าใครที่ความทรงจำตอนอนุบาลเริ่มลางเลือน ก็ขอเป็นช่วงประถมก็พอค่ะ พี่อีฟขอบอกเคล็ดลับนิดนึงว่า ส่วนนี้ทำเป็นตารางจะดูเป็นระเบียบที่สุดค่ะ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
4. ผลงาน
          เปิด Portfolio เข้ามา ก็จะถึงส่วนที่เป็นส่วนสำคัญที่สุดของ Portfolio แล้วนะคะ สำหรับผลงานต่างๆ ของน้องๆ ในส่วนนี้บอกได้เลยว่าสามารถเลือกเอาผลงานเด่นๆ มานำเสมอได้ทั้งหมด ตั้งแต่ผลงานระดับโรงเรียน ไปจนถึงผลงานระดับประเทศ แต่ควรเกี่ยวข้องกับ คณะ/สาขา ที่เราจะเข้าด้วยนะคะ ถ้าคิดว่าไม่เกี่ยวข้องก็เอาที่โดดเด่นมากที่สุด หรือถ้ามีเยอะก็เอามาแค่ 2-3 ผลงานก็พอค่ะ ควรมีการบรรยายว่าผลงานนั้นทำที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ เรามีส่วนร่วมอะไร และเราได้อะไรจากการทำผลงานนั้น ๆ ค่ะ
5. คำนิยม
           สำหรับข้อนี้ ไม่มีก็ถือว่าไม่ได้ผิดอะไรนะคะ แต่ถ้ามีก็จะทำให้ Portfolio และประวัติต่างๆ ของเราดูน่าเชื่อถือขึ้นมากเลยค่ะ ซึ่งคำนิยมก็คือสิ่งที่อาจารย์ได้เขียนถึงเราในเรื่องของนิสัย ความประพฤติ กิจกรรม ผลงาน คำนิยมจะเป็นแบบพิมพ์หรือเขียนก็ได้ค่ะ สำคัญตรงที่ต้องมีลายเซ็นต์รับรองจากอาจารย์ผู้เขียนเท่านั้นเอง จะมีอาจารย์ที่เขียนคำนิยมมากว่า 1 ท่านก็ได้ค่ะ อาจจะเป็นอาจารย์ประจำชั้น อาจารย์ประจำวิชา ครูใหญ่ ผอ. ได้หมดเลยค่ะ แต่ในส่วนนี้ต้องทำเรื่องขอกันสักหน่อยนะคะ และอย่างที่บอกค่ะ ว่าในส่วนนี้ไม่ได้บังคับและไม่ได้มีความจำเป็นมาก ดังนั้น ใครไม่มีก็ไม่ต้องกังวลค่ะ ข้ามไปดูข้ออื่นเลย
6. กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม
           กิจกรรมที่เคยเข้าร่วมก็มีลักษณะคล้ายๆ กับผลงานเลยค่ะ แต่จะเน้นไปที่อย่างอื่นที่ไม่ใช่ด้านวิชาการค่ะ เช่น ความสามารถพิเศษต่าง ๆ กิจกรรมกีฬาสี การเป็นประธานรุ่น เป็นประธานเชียร์ งานแสดงตามวันสำคัญต่าง ๆ การเป็นตัวแทนโรงเรียนถือป้ายโรงเรียน เป็นต้นค่ะ ลักษณะการทำก็จะคล้าย ๆ กับส่วนของผลงาน คือมีการบรรยายว่ากิจกรรมนั้นทำที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ เรามีส่วนร่วมอะไร และเราได้อะไรจากการทำกิจกรรมนั้น ๆ ค่ะ
7. รูปถ่าย
          เป็นส่วนที่สำคัญของ Portfolio เลยนะคะ เพราะนอกจากจะสามารถเล่าเรื่องราวทั้งหมดได้ง่าย ยังทำให้ Portfolio มีความน่าสนใจและไม่เรียบจนเกินไปด้วยค่ะ ซึ่งน้องๆ ควรมีรูปภาพประกอบในส่วนของประวัติส่วนตัว ผลงาน กิจกรรม หรือถ้าหากมีจำนวนมาก ก็ควรใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิงค่ะ เพราะรูปถ่ายนั้นจะทำให้กรรมการเข้าใจในผลงานหรือกิจกรรมของน้องๆ มากขึ้น และมั่นใจได้ว่าน้องๆ เคยได้เข้าร่วมกิจกรรมหรือมีผลงานนั้นจริง     
8. ใบประกาศนียบัต
          เป็นหลักฐานที่สำคัญในผลงานหรือการเข้าร่วมกิจกรรมของเราเลยนะคะ เคยไปประกวดอะไร อบรมที่ไหน เข้าร่วมกิจกรรมเมื่อไหร่ ใส่เข้ามาเลยค่ะ ยิ่งถ้าเกี่ยวข้องกับคณะ/สาขา ที่เราอยากเข้าแล้ว กรรมการสัมภาษณ์ก็จะยิ่งเห็นถึงความสามารถของเราค่ะ ซึ่งควรมีทั้งฉบับจริงและฉบับสำเนานะคะ เพราะถ้าหากคณะไม่คืน Portfolio น้องๆ คงไม่สามารถไปหาใบใหม่ได้อีกแล้วค่ะ
9. ใบแสดงผลการเรียน
          เป็นอีกหลักฐานที่สำคัญเลยค่ะสำหรับใบแสดงผลการเรียน เพราะเป็นเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันผลการเรียนของน้องๆ รวมไปถึงความประพฤติต่างๆ จากโรงเรียนเดิมด้วย ที่ควรมีแน่นอนคือของชั้นม.ต้นและชั้นม.ปลายนะคะ ใครที่ยังไม่มี รีบไปขอจากทางโรงเรียนมาได้เลยค่ะ
10. ภาคผนวก/เอกสารอ้างอิง
          ถือว่าเป็นส่วนท้ายของ Portfolio ที่เอาไว้ใช้รวบรวมเอกสารทั้งหมด รูปภาพจากกิจกรรมหรือผลงานต่างๆ ที่หากมีจำนวนมาก ก็ไม่ควรใส่อัดแน่นในเนื้อหานะคะ ควรนำมาไว้ในภาคผนวกแทน หรือในส่วนของประกาศนียบัตรและใบแสดงผลการเรียนก็มักจะถูกรวบรวมไว้ในส่วนนี้ด้วยค่ะ หรืออาจจะเป็นเอกสารที่ได้มาจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น เอกสารที่ได้รับจากบูธ Dek-D ในงาน Dek-D's Admission Fair เป็นต้นค่ะ เรียกได้ว่า เป็นส่วนสุดท้ายที่ไม่ควรมองข้ามเลยค่ะ          
อ้างอิง : https://www.dek-d.com/tcas/38908/

Home page

ความคิดเห็น